ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2568

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 5, 2025 15:04 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2568 เท่ากับ 112.3

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2568 เท่ากับ 112.3 เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2567 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคา2567 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดวัสดุฉาบผิว โดยมีสาเหตุจากค่าขนส่งสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดีเซลที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นจากยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐหลายพื้นที่ ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงตามราคาวัตถุดิบ (เศษเหล็ก สินแร่เหล็ก) รวมทั้งผลกระทบจากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนทำให้มีอุปทานเหล็กสูง กดดันให้ราคาเหล็กในประเทศลดลง หมวดซีเมนต์ หมวดกระเบื้อง หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงและหนี้เสียเพิ่มขึ้น ทำให้สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อส่งผลให้การลงทุนโครงการใหม่ชะลอตัว

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ดัชนีราคาลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.1 จากการลดลงของดัชนีราคาเกือบทุกหมวด ดังนี้ หมวดซีเมนต์ ลดลงจากราคาพลังงาน (ถ่านหิน) และการแข่งขันสูง หมวดกระเบื้อง ลดลงตามราคาวัตถุดิบ (ซีเมนต์) หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และหมวดสุขภัณฑ์ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ขณะที่หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นจากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เนื่องจากมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นจาก หิน ดิน ทราย ที่มีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมเพิ่มขึ้น1. เทียบกับเดือนมกราคม 2567 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 0.3 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 1.0 จากการสูงขึ้นของไม้แบบ ไม้พื้น ไม้โครงคร่าว และบานประตู จากต้นทุนวัตถุดิบ ค่าดำเนินการ และค่าขนส่งสูงขึ้น

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.6 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนฉาบสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง และการแข่งขันสูง

หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.2 จากการสูงขึ้นของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ขอบคันคอนกรีต และคอนกรีตผสมเสร็จ เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่ง(น้ำมันดีเซล) สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ลดลงร้อยละ 3.2 จากการลดลงของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย เหล็กตัวซี ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง จากปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้มีอุปทานเหล็กสูง กดดันให้ราคาเหล็กในประเทศลดลง

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 1.3 จากการลดลงของกระเบื้องเคลือบบุผนัง กระเบื้องเคลือบปูพื้น และกระเบื้องยาง PVCปูพื้น เนื่องจากความต้องการใช้ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน

หมวดวัสดุฉาบผิว สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากการสูงขึ้นของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และน้ำมันเคลือบแข็ง เนื่องจากราคาวัตถุดิบ (ผงสี กาว) ปรับราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีความต้องการใช้ในการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐ

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของกระจกเงา ฝักบัวอาบน้ำ และราวจับสแตนเลส จากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอตัวทำให้ความต้องการใช้ลดลง

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากการสูงขึ้นของสายเคเบิล THW สายส่งกำลังไฟฟ้า NYYสายไฟฟ้า VCTถังดักไขมันและถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส ตามการสูงขึ้นของราคาวัตถุดิบ (ทองแดง) และมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคของภาครัฐเพิ่มขึ้น

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 7.3 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย เนื่องจากมีความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างด้านคมนาคมของภาครัฐ และวัสดุธรรมชาติ (หิน ดิน ทราย) ที่สูงขึ้นจากต้นทุนค่าขนส่งเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

2.เทียบกับเดือนธันวาคม 2567 (MoM) ลดลงร้อยละ 0.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ดังนี้

หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.6 จากการลดลงของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม และปูนกาวซีเมนต์ เนื่องจากต้นทุนพลังงาน (ถ่านหิน) ลดลง และการแข่งขันสูง

หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของเหล็กเส้นกลมผิวเรียบ เหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย จากความต้องการใช้ในโครงการก่อสร้างของภาครัฐ เนื่องจากมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน

หมวดกระเบื้อง ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของกระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคากระเบื้องลอนคู่ จากการลดลงของต้นทุนวัตถุดิบ (ซีเมนต์)

หมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.9 จากการลดลงของสีทาถนนชนิดสะท้อนแสง และสีน้ำอะคริลิคทาภายนอก เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ (ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี) ปรับราคาลดลง และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ

หมวดสุขภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 1.0 จากการลดลงของโถส้วมชักโครก กระจกเงา และราวแขวนผ้าติดผนัง ลดลงจากความต้องการใช้ที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์

หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ลดลงร้อยละ 0.1 จากการลดลงของท่อร้อยสายไฟและสายโทรศัพท์พีวีซี สวิตซ์ไฟฟ้า ตามการลดลงของราคาทองแดง และตะแกรงกรองผง ลดลงจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อเร่งระบายสต็อกสินค้าของผู้ประกอบการ

หมวดวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากการสูงขึ้นของวัสดุธรรมชาติ (หิน ดิน ทราย) จากต้นทุนค่าดำเนินการและต้นทุนพลังงานสูงขึ้นหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลงหมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 0.6

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 จากสาเหตุ ดังนี้ (1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้การก่อสร้างที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้า โครงการทางด่วนพิเศษ โครงการขยายสนามบิน เป็นต้น (2) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์หลายพื้นที่ยังยืดเยื้อ อาจส่งผลต่อระบบการค้าของโลก ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับราคาสูงขึ้น (3) การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวขยายตัว

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยที่ทำให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวกว่าที่คาดไว้ ดังนี้ (1) มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐอเมริกาโดยการขึ้นภาษีศุลกากรในสินค้าเหล็กนำเข้า วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนที่ยังคงยืดเยื้อ อาจส่งผลให้เหล็กของจีนกระจายไปยังภูมิภาคอื่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเหล็กในตลาดโลกและในประเทศปรับลดลง (2) การชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์จากการเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง (3) ราคาน้ำมันและพลังงานของโลกมีแนวโน้มลดลงตามอุปสงค์ที่ชะลอตัว และนโยบายการเพิ่มกำลังการผลิตของสหรัฐอเมริกา3. แนวโน้มดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2568

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ