ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.80/82 อ่อนค่าสุดรอบ 5 เดือนสอดคล้องภูมิภาค ตลาดจับตามาตรการภาษีสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 8, 2025 17:44 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.80/82 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.55 - 34.85 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค โดยเย็นนี้เงินบาทปิดในระดับอ่อนค่าสุดในรอบประมาณ 5 เดือน (ตั้งแต่ พ.ย. 67) ระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ คาดว่าเป็นแรงซื้อขายระหว่างวัน โดยตลาดรอจับตามาตรการภาษีของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นหลัก

"เงินบาทอ่อนค่า จากแรงซื้อขายระหว่างวัน เนื่องจากเมื่อวานนี้ไทยหยุดทำการไป 1 วัน วันนี้ธุรกรรมจึงค่อนข้างแน่นทั้งซื้อ และขาย และช่วงเย็นราคาทองกลับมาทะลุ 3,000 เหรียญดอลลาร์อีกครั้ง หลังจากที่เมื่อเช้าหลุด 3,000 ไป" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.60 - 35.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 147.24/25 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 147.52 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.0924/0926 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0958 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,074.59 จุด ลดลง 50.62 จุด (-4.50%) มูลค่าการซื้อขาย 66,790.73 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,452.01 ล้านบาท
  • นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิระ รองนายก
รัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นหัวหน้าคณะในการเจรจากับทางสหรัฐ พร้อมด้วยนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ เป็นผู้ร่วมคณะเจรจา
  • นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. เปิดเผยว่า สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลก กำลัง
เข้าสู่ภาวะที่เปราะบางและซับซ้อนอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเฉพาะภายใต้แนวนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจส่งผล
กระทบให้ GDP ของไทยในปีนี้ลดลงต่ำกว่า 2.0% ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนถึงความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างชัดเจน
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน ผลสำรวจในเดือนมี.ค. 68 (สำรวจระหว่างวันที่ 21-31 มี.
ค. 68) พบว่า ดัชนีในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังคงอยู่ในเกณฑ์ "ซบเซา" ที่ระดับ 60.93 นักลงทุนมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของ
ภาครัฐ เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และแนวโน้มการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของกนง. ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การถดถอยของเศรษฐกิจใน
ประเทศ และสงครามการค้า
  • หลังจากที่มีกระแสข่าวว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาที่จะระงับการบังคับใช้มาตรการเรียกเก็บ
ภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ออกไปอีก 90 วัน ทางทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยระบุว่าข่าว
ดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ล่าสุดทรัมป์ได้ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการว่า เขาไม่ได้มีแผนที่จะพิจารณาระงับการเรียกเก็บภาษีจากหลายสิบ
ประเทศ แม้ว่าประเทศคู่ค้าหลายประเทศพยายามใช้ช่องทางต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าวก็ตาม อย่างไรก็ดี ทรัมป์ส่งสัญญาณว่า เขา
ยังคงเปิดช่องทางการเจรจาไว้สำหรับบางประเทศ
  • กระทรวงพาณิชย์จีนออกแถลงการณ์ในวันนี้ (8 เม.ย.) ว่า จีนจะใช้มาตรการตอบโต้อย่างเด็ดขาดเพื่อปกป้องสิทธิและผล
ประโยชน์ของประเทศ หากสหรัฐฯ ยกระดับการใช้มาตรการภาษีศุลกากร
  • นายกรัฐมนตรีมาเลเซียและประธานอาเซียนประจำปี 2568 ออกแถลงการณ์เรียกร้องประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนร่วมกัน
ต่อสู้กับความท้าทายจากการเรียกภาษีศุลกากรเป็นวงกว้างของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ โดยระลึกถึงประวัติศาสตร์ที่มีร่วม
กัน
  • สหภาพยุโรป (EU) เสนอแผนเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ บางรายการในอัตรา 25% เพื่อตอบโต้การตัดสินใจล่าสุด
ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากยุโรป
  • อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านนโยบายค่าเงินของญี่ปุ่น กล่าวว่า ความพยายามของสหรัฐฯ ในยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

ที่จะกดให้ดอลลาร์อ่อนค่าลงเหมือน "ข้อตกลงพลาซา" (Plaza Accord) เมื่อปี 2528 นั้น ไม่น่าจะสำเร็จ เพราะต้องได้รับความร่วม

มือจากจีนและสหภาพยุโรป (EU)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ