ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.57 แข็งค่าสุดในภูมิภาค คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.45-34.75 จับตาการเจรจาภาษีสหรัฐ-รายงานเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 9, 2025 17:53 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์ จาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.91 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.57-34.99 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทแข็งค่าสุดในภูมิภาค เนื่องจากตลาดยังกังวลกับมาตรการตอบโต้ทางภาษีของสหรัฐ ทำให้ตลาดปิดรับความเสี่ยง และหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยแทน ซึ่งทองคำ ก็เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัย จึงทำให้ระหว่างวันราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น และเป็นปัจจัย หนึ่งที่ทำให้เงินบาทไม่อ่อนค่าไปมากกว่านี้

"วันนี้บาทแข็งค่าสุดในภูมิภาค ซึ่งค่าเงินในภูมิภาคมีทั้งอ่อนค่า และแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่ระหว่างวันราคาทองคำ เร่งตัวขึ้นไปยืนเหนือ 3,000 ดอลลาร์ จึงเป็นตัวที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าสุดในภูมิภาค" นักบริหารเงิน ระบุ

สำหรับช่วงนี้ ปัจจัยสำคัญยังคงต้องติดตามทิศทางการเจรจาเรื่องภาษีกับสหรัฐฯ และคืนนี้ ตลาดรอดูรายงานการประชุมคณะ กรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เมื่อวันที่ 18-19 มี.ค.ที่ผ่านมา

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.45-34.75 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 145.34 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 145.47 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1044 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1039 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,088.18 จุด เพิ่มขึ้น 13.59 จุด (+1.26%) มูลค่าการซื้อขาย 50,942.48 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 431.09 ล้านบาท
  • ประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า จากกรณีที่สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทย 36% นั้น แม้มูลค่าความเสียหายใน
ขณะนี้ยังจะไม่สามารถคำนวณออกมาได้ แต่การเสียโอกาสย่อมมีมากแน่ ซึ่งหากการเจรจาต่อรองกับสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะทำได้เร็ว ผล
กระทบที่จะมีต่อการส่งออกของไทยในเดือนเม.ย. หรือ พ.ค.นี้ก็อาจจะไม่มากนัก แต่หากยังไม่สามารถเจรจากันได้ เชื่อว่าการส่งออก
ของไทยตั้งแต่เดือนมิ.ย.เป็นต้นไปน่าจะมีปัญหาใหญ่แน่
  • วิจัยกรุงศรี ระบุว่า ความตึงเครียดทางการค้าโลกทวีแรงขึ้น และยังมีความไม่แน่นอนสูง กดดันเศรษฐกิจไทยอ่อนแอลง
อัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ เรียกเก็บจากไทยสูงเกินคาดที่ 36% ขณะที่ทางการไทยเคยประเมินไว้ว่าอาจถูกเก็บภาษีที่ 11% (ช่วง 10-
15%) โดยก่อนหน้านี้ ส่วนต่างภาษีนำเข้าโดยเฉลี่ยของไทยกับสหรัฐฯ อยู่ที่ราว 6% หากบวกกับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อัตราภาษีนำเข้าที่
เคยคาดการณ์จะอยู่ที่ราว 13% จากการประเมินผลกระทบโดยอาศัยแบบจำลอง Global Trade Analysis Project (GTAP) พบว่า
การขึ้นภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ นี้ จะทำให้การส่งออก และ GDP ของไทยในระยะกลางถึงยาวลดลง -2.6% และ -0.11% ตาม
ลำดับ
  • มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เริ่มมีผลบังคับใช้
แล้วในวันนี้ (9 เม.ย.) ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าที่นำเข้าจาก 86 ประเทศถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 11% ไปจนถึง 84% โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งจีน ซึ่งถูกเรียกเก็บภาษีรวม 104%
  • กระทรวงพาณิชย์จีนประกาศในวันนี้ (9 เม.ย.) ว่า จีนมีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีวิธีการมากมายที่จะใช้ตอบโต้และต่อสู้จน
ถึงที่สุด หากสหรัฐอเมริกายังคงยืนกรานที่จะยกระดับมาตรการจำกัดทางเศรษฐกิจและการค้า
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะจัดการประชุมฉุกเฉินใน
วันนี้ (9 เม.ย.) หลังจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นดิ่งลงอย่างหนัก ภายหลังจากมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ ของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้
  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ยืนยันว่า ทางธนาคารกลางพร้อมเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินรูเปียห์อย่างเต็ม
ที่ โดยจะเข้าแทรกแซงทั้งในตลาดสปอต ตลาดซื้อขายล่วงหน้าในประเทศ (DNDF) และตลาดพันธบัตร หลังเงินรูเปียห์อ่อนค่าลงแตะระดับ
ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งสูงขึ้น หลังจากที่มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ของสหรัฐฯ เริ่มมีผล
บังคับใช้แล้วในวันนี้ (9 เม.ย.) โดย ณ เวลา 16.00 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ
4.356% หลังจากที่พุ่งสูงถึง 4.516% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี อยู่ที่ระดับ 4.818%
  • สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (WTTC) คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลกจะเติบโตแข็งแกร่งมาก

เป็นประวัติการณ์ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยแม้ว่าราคาสินค้าเกือบทุกชนิดจะปรับตัวสูงขึ้นและตลาดทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะถด

ถอย แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงมีแนวโน้มที่สดใส


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ