บัวหลวง เจาะราย Sector รับแรงกระแทก Trump Tariffs มีทั้งได้-เสีย เก็งเจรจาจบใน 3 เดือน

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday April 8, 2025 12:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บล.บัวหลวง ระบุว่า ประเทศไทยโดนเรียกเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) เป็นหนึ่งในประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้าเป็นอันดับที่ 11 และโดนสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้สูงถึง 36% กับสินค้านำเข้าทุกรายการจากไทย ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและเวียดนาม (ขณะที่ลำดับที่เราได้ดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ เป็น 15 อันดับแรก) และสูงกว่าส่วนต่างภาษีนำเข้าสินค้ากับสหรัฐฯ ที่แท้จริงกว่า 5 เท่าตัว

ดังนั้น มองผลกระทบทางตรงต่อภาคการส่งออกไทยอย่างรุนแรง เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย (มีสัดส่วน 18.3%) และทำให้อุปสงค์ในตลาดสหรัฐฯ ลดลงจากราคาสินค้านำเข้าที่แพงขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้สินค้าไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาลดลงในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในอัตราที่ต่ำกว่า เช่น

1) คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (เช่น HDDs) อัตราภาษีตอบโต้ของไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างแม็กซิโก (25%) และไต้หวัน (32%)

2) อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์) อัตราภาษีตอบโต้ของไทยสูงกว่าแม็กซิโก (25%) ญี่ปุ่น (24%) เกาหลีใต้ (25%) เยอรมนี (20%)

3) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (เช่น ตู้เย็น ทีวี เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) อัตราภาษีตอบโต้ของไทยสูงกว่าแม็กซิโก (25%) และเกาหลีใต้ (25%)

4) ผลิตภัณฑ์ยาง (อาทิ ยางล้อรถยนต์ ถุงมือยาง) อัตราภาษีตอบโต้ของไทยสูงกว่าแคนาดา (25%) ญี่ปุ่น (24%) และเกาหลีใต้ (25%)

5) อาหารสัตว์เลี้ยง อัตราภาษีตอบโต้ของไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างแคนาดา (25%) อินโดนีเซีย (32%) และแม็กซิโก (25%)

เรามองว่าประเทศที่เข้าสู่การเจรจาเร็วก็จะบรรลุข้อตกลงทางการค้าอย่างรวดเร็ว โดยไทยน่าจะเป็นกลุ่มประเทศที่ยินยอมเข้าสู่กระบวนการเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ ตามกรอบแนวทางต่างๆ ตามที่เราได้วิเคราะห์ไปก่อนหน้านี้ อันได้แก่ 1) นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2) ลดภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ

และนอกเหนือจากนี้ อาจต้องลดเงื่อนไขหรือลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barriers) กับสหรัฐฯ เพิ่ม แต่กระบวนการการจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากต้องแก้กฎหมาย และต้องศึกษาถึงผลกระทบให้รอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ คาดว่ากรอบระยะเวลาการเจรจาที่เป็นไปได้น่าจะอยู่ราว 3 เดือน (สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2025)

เราประเมินผลกระทบบนฉากทัศน์ต่างๆ ไว้ในรายงาน ภายใต้ข้อสมมติฐาน Base case ว่าไทยสามารถเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ ได้เป็นผลสำเร็จภายใน 3 เดือน และถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าใหม่ที่ 20% (สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ในปี 2018-2019 สหรัฐฯ ได้เคยลดให้จีนลงมาครึ่งหนึ่งภายหลังการเจรจาสำเร็จ) ซึ่งในกรณีนี้ จะส่งผลให้การส่งออกไทยในปี 68 หดตัวราว 0.2%, และ GDP ไทยโตชะลอลงเหลือ 1.4%

สำหรับกรณีอื่นๆ Best case ลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 10% (อัตราที่ใกล้เคียงกับส่วนต่างอัตราภาษีนำเข้าสินค้าที่ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ เดิมที่ราว 6.98%) และเป็น Baseline Tariff ของสหรัฐฯ ด้วย ตัวเลขส่งออกปี 68 ยังเป็นบวก 0.3%, GDP โตชะลอลงเหลือ 1.6%

สุดท้ายกรณีเลวร้าย (Worst case) เจรจาไม่สำเร็จและถูกคิดอัตราภาษีนำเข้าที่ 36% ไปจนถึงสิ้นปี จะส่งผลกระทบต่อ GDP ไทยราว 1.5% และจะทำให้ GDP ไทยโตชะลอลงเหลือ 0.9%

*ประเมินผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐรายกลุ่ม

  • Agro & Food Sector

มาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ ที่ออกมา มีทั้งมุม บวก และ ลบ สำหรับกลุ่มเกษตร-อาหาร โดยในด้านลบ ตรงๆ กระทบต่อ TU (สัดส่วนรายได้จาก US ถึง 39%) และ ITC (สูงถึง 50%) โดยเราคาดว่าลูกค้าที่นำเข้าของ US จะชะลอคำสั่งซื้อจากไทย เพื่อรอความชัดเจนด้านราคา ซึ่งจะกระทบยอดขายตั้งแต่ 2Q25 ดังนั้น เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2025 ของ TU ลง 22% และ ITC ลง 17%

ส่วนในด้านบวก มองกลุ่มเนื้อสัตว์ (Livestock : CPF, BTG, TFG, GFPT) นั้น ไม่มีรายได้ตรงจาก US อย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาเนื้อหมูในประเทศยังทรงตัวระดับสูง แต่ราคาข้าวโพดและกากถั่วเหลืองลง จะหนุน GM และแนวโน้มกำไรใน H1/68 หากไทยเปิดนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ประเมิน 1) หากราคาข้าวโพดและกากถั่วเหลืองลดลงทุก 10% จะมี Upside ต่อกำไรกลุ่ม +2.7%

แต่ความเสี่ยงใหม่ คือ "หมูจากสหรัฐฯ" ถ้าไทยต้องเปิดนำเข้าหมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง ที่ถูกแบนอยู่ตอนนี้ เราคำนวณว่า หากราคาหมู/ไก่ในประเทศที่ลดลงทุก 10% จะกระทบกำไรของกลุ่ม Livestock ไปกลบกับข้าวโพดที่ราคาถูกลง โดยจะเป็นผลสุทธิด้านลบ (net negative) ที่ -4.5% อย่างไรก็ตาม เรา "ยังไม่คาดว่าจะมีการเปิดนำเข้าในปี 68" เพราะใช้เวลาในการจัดการ

ในส่วนประมาณการกำไร Q1/68

TU: คาดกำไรที่ 600 ลบ. (-33% YoY, -45% QoQ) จากยอดขายที่หดตัว 8% และ SG&A ต่อรายได้พุ่ง

ITC: คาดกำไรที่ 704 ลบ. (-20% YoY, -12% QoQ) จาก Margin ที่ลดลงและยอดขายที่โตช้า

CPF: คาดกำไรหลักที่ 6.7 พันลบ. เพิ่มขึ้นจาก 491 ลบ. ใน 1Q24 และเพิ่ม 14% QoQ หนุนโดยราคาหมูไทยและเวียดนามที่สูง และ GM ที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 16% จาก 12% ในปีก่อน

Fundamental view: ภาพรวมกลุ่มเกษตรฯ อาหาร เรายังคงน้ำหนักการลงทุน "เท่ากับตลาด" แต่มีการปรับ "ลดน้ำหนักกลุ่มส่งออก" ที่มีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐฯ สูง เช่น TU และ ITC เป็นขาย และยังชอบ ปศุสัตว์สุด เช่น CPF และ BTG ที่ยังได้แรงหนุนจากราคาเนื้อหมูสูงขึ้นและต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง (แต่ก็ต้องระวัง Downside จากการเปิดเจรจานำเข้าหมูจากสหรัฐฯ ในระยะถัดไป) นอกจากนี้เรายังชอบเครื่องดื่ม CBG ด้วย ส่วน TU และ ITC ถึงแม้ราคาหุ้นจะลงมาเยอะแล้ว แต่เรายัง "ไม่เห็น Catalysts ชัดเจน" จึงแนะนำ ขาย

-Bank Sector ล็อกกำไร ก่อนขึ้น XD

เราปรับน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารลงจาก "เท่าตลาด" เป็น "น้อยกว่าตลาด" โดยเราประเมินว่าตลาดจะกลับมาให้ความสำคัญกับคุณภาพสินทรัพย์มากกว่าการเติบโตของกำไรในปีนี้ เพราะนักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อคาดการณ์การเติบโตของ GDP ไทยปีนี้ถึง 1% ซึ่งเราคาดว่าจะกระทบการเติบโตของสินเชื่อและคุณภาพสินทรัพย์ของกลุ่มธนาคาร ทำให้เราปรับลดประมาณการกำไรปีนี้ของกลุ่มธนาคารลงเฉลี่ย 3% จากการปรับลดสมมติฐานการเติบโตของสินเชื่อลงจาก 2.5% YoY มาเป็นทรงตัว YoY และปรับเพิ่มสมมติฐาน credit cost ขึ้น 3bps โดยธนาคารที่เราปรับกำไรลงนำโดย KKP (ลดลง 5%) TTB และ SCB (ลดลง 4%) KBANK (ลดลง 3%) BBL, KTB และ TISCO (ลดลง 2%)

Fundamental view: เรายังแนะนำซื้อ BBL และ KTB เพราะมีสัดส่วนสินเชื่อที่เป็นรายใหญ่และรัฐบาลสูง ซึ่งเรามองว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าสินเชื่อ SME และรายย่อย นอกจากนี้ ก็ยังมี loan-loss coverage ratio สูง สามารถรองรับความเสี่ยงด้านความผันผวนของเศรษฐกิจได้ดีกว่าธนาคารอื่น เราแนะนำถือ SCB เพราะประเมินว่าน่าจะยังจ่ายรับปันผลในระดับสูงที่ 8% ได้ ส่วนธนาคารอื่นเราปรับลดคำแนะนำเป็น ขาย

-Energy Sector

เรามองมีโอกาสที่รัฐบาลไทยมีการเตรียมเสนอขยายการนำเข้าน้ำมันดิบและ LNG จากสหรัฐฯ โดยปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ (US crude) คิดเป็น 11.3% ของความต้องการทั้งหมด ขณะที่การนำเข้า LNG จากสหรัฐฯ อยู่ที่ 12.2% ซึ่งถือว่าแข่งขันได้ด้านราคาถึง (แม้ค่าขนส่งจะแพงกว่า) เราประเมินว่าการเพิ่มสัดส่วนของ US crude เป็น 20?25% ของ BCP และ IRPC ทำได้โดยไม่ต้องเพิ่มค่าดำเนินการ (OPEX) เพราะมีอยู่แล้ว ขณะที่ SPRC และ TOP อาจปรับตามได้ในปี 2026 หลังปรับซ่อมบำรุงรอบถัดไป

ในกลุ่มโรงไฟฟ้า (Utilities) คาดผลกระทบจำกัด โดยหากนำเข้า LNG สหรัฐฯ และต้นทุนแพงกว่าตลาด อาจกดดัน GM ชั่วคราว โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาขายไฟฟ้าให้โรงงาน (IUs) ยังปรับตัวตามต้นทุนไม่ทัน

ส่วนราคาหุ้นกลุ่มโภคภัณฑ์ (Commodities) ยังถูกกดดันจนกว่าสงครามการค้าจะเริ่มคลี่คลายใน 2H25 โดยปัจจัยหลักเป็นเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอ กดดันความต้องการใช้พลังงานทั่วโลก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ GDP สูงถึง 99% ทำให้ราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน-โภคภัณฑ์ยังมี downside ในระยะสั้น เราคาดว่าตลาดจะเริ่มฟื้นในปลาย 2Q25 หรือ 3Q25

Fundamental view: ปรับลดคำแนะนำและราคาเป้าหมายในกลุ่มโรงกลั่น ดังนี้

TOP: ปรับลดคำแนะนำเหลือ "ถือ" (จากซื้อ) พร้อมปรับราคาเป้าหมายเหลือ 26 บาท

BCP: ปรับลดคำแนะนำเป็น "ถือ" (จากซื้อเก็งกำไร) และเป้าหมายใหม่ 34 บาท

SPRC: ปรับลดคำแนะนำเป็น "ถือ" (จากซื้อเก็งกำไร) เป้าหมายใหม่ 5.50 บาท

IRPC ปรับลดคำแนะนำเป็น "ขาย" (จากซื้อเก็งกำไร) โดยมองความเสี่ยงด้านธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ยัง oversupply

-Commerce Sector สินค้าจำเป็น ยังยืนได้ในภาวะกดดัน

แรงกดดันของประเด็นภาษีสหรัฐฯ ต่อกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะสินค้านำเข้าไม่ใช่อาหาร เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ เหล็ก เสื้อผ้า แม้ในสมมติฐานที่หาก ต่อรองภาษีได้เหลือ 20% ในกลางปี (จาก 36%) จะสร้างความเสี่ยงต่อ SSSG เนื่องจากมีความสัมพันธ์สูงถึง 86% กับ GDP ไทย ขณะเดียวกัน สินค้าจีนและภูมิภาคอาจทะลักเข้ามาแทนที่ตลาดสหรัฐฯ กระทบผู้ค้าปลีก non-food

เราปรับลดคาดการณ์กำไรหลักกลุ่มค้าปลีกปี 2025 ลงจากโต 8% เหลือโต 3% (เท่ากับ 79.5 พันลบ. +3% YoY จาก +19% ใน 2024) โดยปรับลด SSSG เฉลี่ยจาก 3% เหลือ 1% อย่างไรก็ตาม margin ยังขยายได้จาก mix ของสินค้ากำไรสูง รวมถึง SG&A/sales ที่ลดลงจากค่าไฟฟ้าถูกลงและคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น

Fundamental view: ชอบกลุ่มกลุ่มสินค้าจำเป็น (Grocery) ? Top picks คือ CPALL และ CPAXT

โดยเราคงคำแนะนำ "ซื้อ" CPALL และ CPAXT จากแนวโน้มกำไรที่แข็งแกร่งต่อเนื่องในปี 2025-26 จาก mix สินค้าพร้อมทานที่มากขึ้น (GM สูง) ต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง และ synergy จากการควบรวม Makro?Lotus?s

ส่วน HMPRO เราปรับคำแนะนำขึ้นเป็น "ซื้อ" จากความคาดหวังการใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงบ้านหลังแผ่นดินไหว

ขณะที่ BJC ปรับลดเป็น "ถือ" จากคำสั่งซื้อแพ็กเกจจิ้งอ่อนแอ และ BigC ยังเน้นโปรโมชันหนัก

ส่วน GLOBAL และ ILM ปรับลดเป็น "ขาย" คาดกำไรหลักปี 2025 ลดลง YoY


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ